ส่งงานครั้งที่3 การควบคุมความเสี่ยงในองกรค์

การประเมินความเสี่ยง

1การชี้บ่งอันตราย

คือการแจกแจงความเป็นอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสถานที่ทำงานในการประกอบกิจกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การเก็บ การขนถ่าย การใช้วัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ ตลอดจนกระบวนการผลิต และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน ต้องมีการชี้บ่งโดยการทำ

1.1 Checklist
เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตราย โดยการนำแบบตรวจไปใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานในโรงงาน เพื่อค้นหาอันตาย ซึ่งแบบตรวจ ประกอบด้วยหัวข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือกฏหมาย เพื่อนำผลจากการตรวจสอบมาทำการชี้บ่งอันตราย
1.2 What-if Analysis
เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดำเนินงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยการใช้คำถาม “ จะเกิดอะไรขึ้น……ถ้า……..” (What if) และหาคำตอบในคำถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานในโรงงาน
1.3 HAZOP (Hazard and Operability Study)
สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ1
เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโรงงาน โดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้ตั้งใจ ด้วยการตั้งคำถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง ๆ
1.4 Fault Tree Analysis
เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุ หรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุ เป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการและเหตุผล เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยเริ่มวิเคราะห์จากการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อน แล้วนำมาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การสิ้นสุดการวิเคราะห์เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน
1.5 FMEA (Failure Modes and Effects Analysis)
เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายในการวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลว และผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์ ในแต่ละส่วนของระบบแล้วนำมาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์
1.6 Event Tree Analysis
เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพอวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น (initiating event) ซึ่งเป็นการคิดคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์เสียหายหรือคนทำงานผิดพลาด เพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่าระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่อย่างไรื่
2) การประเมินความเสี่ยง
คือการวิเคราะห์พิจารณาถึงโอกาส และความรุนแรงของอันตรายที่ชี้บ่งออกมาได้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี การประเมินความเสี่ยงเป็นการจัดระดับของความเสี่ยง ว่าเป็นการเสี่ยงเล็กน้อย หรือ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง หรือความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานควบคุมความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงให้ใช้หลักเกณฑ์พิจารณาดังนี้
2.1 พิจารณาถึงโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยจัดระดับโอกาสเป็น 4 ระดับ คือ
การจัดระดับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
ระดับ
รายละเอียด
1มีโอกาสในการเกิดยาก เช่นไม่เคยเกิดเลยในช่วงเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2มีโอกาสในการเกิดน้อย เช่น ความถี่ในการเกิด 1 ครั้ง ในช่วง 5-10ปี
3มีโอกาสในการเกิดปานกลาง เช่น ความถี่ในการเกิด 1 ครั้ง ในช่วง1-5 ปี
4มีโอกาสในการเกิดสูง เช่น ความถี่ในการเกิด มากกว่า 1 ครั้งใ1ปี
สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ2
2.2 พิจารณาถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิดต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงไร โดยจัดระดับความรุนแรงเป็น 4 ระดับ
การจัดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อบุคคล
ระดับ
ความรุนแรง
รายละเอียด
1เล็กน้อย
มีการบาดเจ็บเล็กน้อยในระดับปฐมพยาบาล
2ปานกลาง
มีการบาดเจ็บที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
3สูง
มีการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่รุนแรง
4สูงมาก
ทุพลภาพหรือเสียชีวิต
สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ3
การจัดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน
ระดับ
ความรุนแรง
รายละเอียด
1เล็กน้อย
ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงงาน หรือผลกระทบเล็กน้อย
2ปานกลาง
มีผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงงาน และแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น
3สูง
มีผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงงาน และต้องใช้เวลาในการแก้ไข
4สูงมาก
มีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนเป็นบริเวณกว้าง หรือหน่วยงานของ
รัฐต้องเข้าดำเนินการแก้ไข
หมายเหตุ ผลกระทบต่อชุมชน หมายถึง เหตุรำคาญต่อชุมชน การบาดเจ็บ เจ็บป่วยของประชาชน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของชุมชน และประชาชน
การจัดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ระดับ
ความรุนแรง
รายละเอียด
1เล็กน้อย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย สามารถควบคุมหรือแก้ไขได้
2ปานกลาง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปานกลาง สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น
3สูง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรง ต้องใช้เวลาในแก้ไข
4สูงมาก
มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมาก ต้องใช้ทรัพยากรและเวลานานในการแก้ไข
หมายเหตุ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเสื่อมโทรมและเสียหายของสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศ ดิน แหล่งน้ำ เป็นต้น
การจัดระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน
ระดับ
ความรุนแรง
รายละเอียด สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ
4
1เล็กน้อย
ทรัพย์สินเสียหายน้อยมาก หรือไม่เสียหายเลย
2ปานกลาง
ทรัพย์สินเสียหายปานกลางและสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้
3สูง
ทรัพย์สินเสียหายมากและต้องหยุดการผลิตในบางส่วน
4สูงมาก
ทรัพย์สินเสียหายมากและต้องหยุดการผลิตทั้งหมด
หมายเหตุ ความเสียหายของทรัพย์สินในแต่ละระดับโรงงานสามารถกำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสมโดยพิจารณาถึงขีดความสามารถของโรงงาน
2.3 จัดระดับความเสี่ยง โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์ของระดับโอกาสคูณกับระดับความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม หากระดับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม มีค่าแตกต่างกันให้เลือกระดับความเสี่ยงที่มีค่าสูงกว่าเป็นผลของการประเมินความเสี่ยงในเรื่องนั้นๆ ระดับความเสี่ยงจัดเป็น 4 ระดับ
การจัดระดับความเสี่ยงอันตราย
ระดับความเสี่ยง
ผลลัพธ์
รายละเอียด
1-2ความเสี่ยงน้อย
3-6ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ต้องมีการทบทวนมาตรการควบคุม
8-9ความเสี่ยงสูง ต้องมีการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง
12-16ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงลงทันที
3) แผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง
คือ แผนงานลดความเสี่ยง และแผนงานควบคุมความเสี่ยง ซึ่งผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการจัดทำแผนงานเพื่อกำหนดมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในการลดและควบคุมความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ5
3.1 หากผลการประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตรายเป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องหยุดดำเนินการทันที และทำการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดความเสี่ยง ก่อนดำเนินการต่อไป โดยจัดทำแผนงานลดความเสี่ยง และแผนงานควบคุมความเสี่ยง
3.2 หากผลการประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย เป็นระดับความเสี่ยงสูง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำแผนงานลดความเสี่ยง และแผนงานควบคุมความเสี่ยง
3.3 หากผลการประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย เป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง
3.4 แผนงานลดความเสี่ยง เป็นแผนงานปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ในการลดความเสี่ยงให้อยู่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งต้องประกอบด้วยมาตรการ หรือ กิจกรรมหรือการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง โดยระบุรายละเอียดของขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา ในการดำเนินงาน รวมทั้งการตรวจติดตามการดำเนินงาน

นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกิจกรรมโดย อบรมเกี่ยวกับความเสี่ยงการอบรมเกี่ยวกับอัคคีเพลิงและการดับเพลิงการปฐมพยาบาลต่างๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งาน FLOWCHART

งาน arduino 5 photo transistor

mini project วัดความกดอากาศและความสูงแสดงผลทางจอLCD