บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

ส่งงานครั้งที่ 5 ระบบควบคุณภาพในสถานประกอบการ

มาตรฐาน ISO 9001 ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001:2015 มีการเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องการทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทองค์กร การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่

ส่งงานครั้งที่4 การจัดการความขัดแย้งในองค์กร

การจัดการความขัดแย้งในองค์กร  การหลบหลีกความขัดแย้ง  (Avoiding Style)                     ผู้เกี่ยวข้องจะใช้ความเพิกเฉยในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยจะไม่มีการให้ความสนใจทั้งประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้าม และพยายามหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ซึ่งแม้วิธีการนี้จะเป็นการลดภาวะตึงเคียดได้ระยะหนึ่งแต่จะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างแท้จริง แต่หากความขัดแย้งเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ เป็นความขัดแย้งที่ไม่รุนแรงและไม่มีความชัดเจน การบริหารความขัดแย้งโดยการวางเฉยจะมีความเหมาะสมอย่างมาก หรือในกรณีที่สถานการณ์ที่รุนแรงและเป็นอันตรายหากเข้าไปเกี่ยวข้อง การหลีกเลี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้       การให้ความช่วยเหลือ  (Accommodating Style)                    การจัดการความขัดแย้งวิธีนี้คือการให้ความช่วยเหลือฝ่ายตรงข้าม หรือการให้ความร่วมมือโดยไม่สนใจว่าฝ่ายของตนเองจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง การใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือจะเหมาะกับสถานการณ์ที่ความขัดแย่งค่อนข้างรุนแรงหรือวิกฤติ         การแข่งขัน  (Compet

ส่งงานครั้งที่3 การควบคุมความเสี่ยงในองกรค์

การประเมินความเสี่ยง 1การชี้บ่งอันตราย คือการแจกแจงความเป็นอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสถานที่ทำงานในการประกอบกิจกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การเก็บ การขนถ่าย การใช้วัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมี ผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ ตลอดจนกระบวนการผลิต และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน ต้องมีการชี้บ่งโดยการทำ 1.1 Checklist เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตราย โดยการนำแบบตรวจไปใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานในโรงงาน เพื่อค้นหาอันตาย ซึ่งแบบตรวจ ประกอบด้วยหัวข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือกฏหมาย เพื่อนำผลจากการตรวจสอบมาทำการชี้บ่งอันตราย 1.2 What-if Analysis เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดำเนินงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยการใช้คำถาม “ จะเกิดอะไรขึ้น……ถ้า……..” (What if) และหาคำตอบในคำถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานในโรงงาน 1.3 HAZOP (Hazard and Operability Study) สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ 1 เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่

ส่งงานครั้งที่2 กิจกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

รูปภาพ
กิจกรรม 7 ส ความเป็นมากิจกรรม  7ส         นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2542  มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพและมีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโดยใช้กิจกรรม 5ส  เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพ  นับเป็นเวลา 10 ปี มาแล้วที่เรื่องของ 5ส  อยู่ในหัวใจการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ในปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัย  จึงได้พัฒนาคุณภาพโดยนำระบบ 7ส  มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  เพื่อให้งานเกิดคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยงามและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากกิจกรรม 5 ส ที่ผ่านมา ความหมายของ  7ส        7ส คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้หน่วยงานมีประสิทธิภาพในการทํางานที่ดีขึ้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทํางานมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยทําให้บุคลากรมีจิตสํานึกในการทํางานที่มีระเบียบ เรียบร้อย มีใจรักสถานที่ทํางานและมีความร่วมมือในการทํางานกับผู้อื่น ทําให้บรรยากาศในการทํางานดีขึ้น ส1  สะสาง   “แยกให้ชัด ขจ